เลือก: A B c d e f g h i j k m n o p r s t u w y z
ส้มที่มีรสขม เป็นของตกแต่งที่สำคัญของเทศกาลปีใหม่ น้ำที่คั้นออกมาจากส้มชนิดนี้นั้นจะนำไปผสมกับซอสถั่วเหลืองเพื่อทำเป็นน้ำจิ้มพอนซึ (ponzu) อันแสนอร่อย สำหรับใช้ทานกับ หม้อไฟ (nabemono)
หัวไชเท้าขาวขนาดใหญ่ Raphanus sativus โดยปกติแล้วจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร และยังเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับคนที่กำลังควบคุมอาหาร โดยจะสามารถประกอบอาหารได้ในหลายๆแบบ นำหัวไชเท้ามาต้มสไลด์หนาตกแต่งด้วยผักหลากชนิดเป็นเครื่องเคี่ยวเรียกว่า nimono ถ้านำมาตากแห้งเป็นชิ้นยาวๆนั้นเรียกว่า kiriboshi daikon หัวไชเท้าที่เพิ่งออกใหม่ๆนั้นจะนิยมใช้กันมาก อย่างเช่นในผักดองรวม fukujinzuke เพื่อให้รสชาติของน้ำจิ้มเทมปุระดีเมื่อแต่งรสด้วยซอสถั่วเหลือง แล้วใส่หัวไชเท้าขูดและหัวไชเท้านั้นจะช่วยในการย่อยอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำมันเป็นส่วนประกอบหลัก หัวไชเท้าจะมีรสฉุนบ้าง รวมถึงกลิ่นที่ไม่เป็นที่น่าพอใจถ้าทิ้งไว้ ชื่อเดิมของ daikon นั้นเป็นหนึ่งใน 7 สมุนไพรแห่งฤดูใบไม้ผลิ (haru no nanakusa) คือ suzushiro
ถั่วเบะ Glycine max นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในเมนูอาหารญี่ปุ่น เพราะมีคุณค่าทางอาหารสูง และเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ถั่วเบะนั้นนิยมทานทั้งเปลือก(ต้มแล้ว) (edamame) เป็น tsumamimono สำหรับแบบที่แกะเปลือกออกนั้นจะใส่ไว้ในอาหารหลายประเภทรวมถึงซุปต่างๆ และยังเป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตเต้าหู้, มิโซะ และซอสถั่วเหลือง หรือนำมาอบแห้งจะใช้ทำแป้ง kinako ซึ่งเป็นของตกแต่งอาหารที่มีรสอร่อย ใช้แต่งขนมอย่างโมจิ (mochi) น้ำมันพืชคุณภาพเยี่ยมก็สกัดมาจากถั่วเหลืองเช่นเดียวกัน
ด้งโงะ – ทรงกลม (อาหาร) แป้งที่ทำจากข้าว, ข้าวสาลี, บัดวีท (buckwheat) และข้าวฟ่าง ทั้งหมดนำมาใช้ทำเป็นลูกกลมๆ จากนั้นนำมานึ่ง หรือต้มเสิร์ฟคู่กับของแต่งหน้าหรือจุ่มในน้ำซอสถั่วเหลืองและนำมาย่างกับหมู, เนื้อ, ไก่ และลูกชิ้นปลา (โดยเฉพาะปลาซาดีน) ที่ทำมักจะนำไปทอดแทนที่การนึ่ง หรือต้ม และบางครั้งยังใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญของ o-den อีกด้วย
น้ำดาชิ – น้ำซุป น้ำซุปใสญี่ปุ่นที่ดีที่สุดทำมาจาก ปลาป่น (katsuobushi) และ สาหร่ายคอนบุ (konbu) การต้มครั้งแรกนั้น (ichiban dashi) ใช้สำหรับทำน้ำซุปใส (suimono) จากนั้นวัตถุดิบตัวเดิมสามารถนำมาต้มต่อเป็นครั้งที่ 2 ได้อีก (niban dashi) ซึ่งจะนิยมใส่ในซุปมิโซะ, ผสมในน้ำก๋วยเตี๋ยว และอื่นๆอีกมากมาย ปลาแอนโชวี่ตากแห้งตัวเล็กๆนั้นเรียกว่า niboshi ก็ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นวัตถุดิบในการต้มน้ำซุปด้วย แต่ก่อนจะทำนั้นต้องนำส่วนหัวของปลาออกก่อน
ดูเพิ่มที่ dashi น้ำซุปสต๊อกปลา
ไข่เจียวม้วน โดยนำไข่ปลาเนื้อขาว (whitefish) สับเป็นชิ้นเล็กๆ, น้ำดาชิ (dashi), มิรัน (mirin) และน้ำตาลนั้นล้วนเป็นส่วนประกอบของไข่เจียวที่ห่อด้วยการใช้เสื่อไม้ไผ่ที่เรียกว่า makisu ม้วน จากนั้นค่อยสไลด์เป็นส่วนๆชิ้นหนาๆ โดยส่วนมากนิยมทานกันในช่วงเทศกาลปีใหม่โดยทานเป็นส่วนหนึ่งของอาหารฉลองปีใหม่ o-sechi ryori
ปลาเข็ม Strongylura anastomella มีลักษณะคล้ายคลึงกับ sayori ปลาทะเลชนิดนี้มีความยาวถึง 1 เมตร ส่วนมากนิยมใช้ทำลูกชิ้นปลา (kamaboko)
เนื้อของปลาเนื้อขาวและกุ้งนำมาต้ม, ซอยเป็นชิ้นเล็กๆ, ตากแห้ง, ปรุงรส และทำให้เป็นสีแดง มักจะใช้เป็นวัตถุดิบในการทำข้าวห่อสาหร่าย (norimaki) และใช้โรยหน้า chirashizushi หรืออาจเรียก denbu อีกอย่างหนึ่งว่า oboro
การตระเตรียมอาหารต่างๆ เช่น มะเขือม่วง, เผือก, บุก (konyaku) และเต้าหู้นั้นถูกทาด้วยของที่ช่วยเพิ่มความหวานอย่างมิโซะ จากนั้นนำมาเสียบไม้และย่าง ปลา dengaku นั้นถูกเรียกว่า gyoden
แป้ง ใช้ในการทำลูกชิ้นปลา (kamaboko) และใช้ในการเตรียม mizuame, สาหร่าย (nori) และสาเก
ซุปใสที่มีรสชาติเยี่ยมทำจาก dobin ขนาดเล็กเป็นของขึ้นชื่อในช่วงฤดูใบไม้ร่วงของจังหวัดเกียวโต ส่วนมากมักจะใส่เห็ดมัตสึทากะ (matsutake), ไก่, ผักชีญี่ปุ่น (mitsuba) และ แปะก๊วย (ginnan) ส่วนน้ำสัมยุซึ จะถูกคั้นออกมาลงใน น้ำดาชิ ซึ่งดื่มด้วยถ้วยเล็กๆ ส่วนวัตถุดิบอื่นๆนั้นสามารถทานได้โดยใช้ตะเกียบ น้ำซุปใสนี้นั้นนับว่าเป็นหนึ่งในสุดยอดอาหารเด็ดของประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว
ปลาโดะโจ loach Misgurnus anguillicaudatus ปลาน้ำจืดที่ใช้ช่วยการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของนาข้าว ก่อนที่จะใช้สารเคมีอย่างแพร่หลายจะเข้ามา นิยมทานทั้งตัวและเป็นแหล่งแคลเซียมชั้นยอด มักจะนิยมทานคู่กับ เหล้าญี่ปุ่น (shochu) หรือสาเก
หม้อไฟ (nabemono) ใช้น้ำซุปที่แต่งรสชาติเพิ่มโดยใช้มิโซะ โดยปกติจะใช้วัตถุดิบคือ หอยนางรม และ เต้าหู้ทอด (yakidofu) กับเส้นบุก shirataki และผักสดนานาชนิด